อบรม แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR   ที่ครบถ้วน ในทุกมิติ  (Personal Data Protection Guideline for HR)

อบรม อบรม แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR ที่ครบถ้วน ในทุกมิติ (Personal Data Protection Guideline for HR)

ขอเชิญอบรม หลักสูตร อบรม แนวปฏิบัติ PDPA สำหรับคน HR ที่ครบถ้วน ในทุกมิติ (Personal Data Protection Guideline for HR)
- รอบที่ 1 วันที่ 8 เมษายน 2568 เวลา 09:00 - 16:00 น
สอนโดยพงศา บุญชัยวัฒนโชติ
ราคา 3900 บาท

หลักการและเหตุผล

             แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ลูกจ้าง ตลอดจนผู้สมัครงาน


วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของนายจ้าง / HR เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. สามารถจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

4. นายจ้าง / HR สามารถจัดทำนโยบาย และกำหนดกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน (Personal Information) ให้สอดคล้องกับกฎหมายได้




1. เหตุผลและความเป็นมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2. สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

       • ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

       • ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

       • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

       • หลักการขอความยินยอม - การเก็บ - การใช้ - การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล

       • ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

       • มาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด

       • ความรับผิดและบทลงโทษตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง - ทางอาญา – โทษทางปกครอง

3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 15 ภารกิจที่ HR ต้องดำเนินการ

4. แนวทางการจัดทำเอกสารและแบบฟอร์ม PDPA ให้สอดคล้องกับกฎหมาย อาทิ

       • แนวปฏิบัติการจัดทำบันทึกรายการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Record of Processing Activities)

       • หนังสือให้ความยินยอม (Privacy Consent Form)

       • หนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice Form)

       • ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement)

       • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)

       • หนังสือตอบกลับการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject Rights Responding)

       • หนังสือแจ้งเหตุ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล (Personal Data Breach Notification)

5. แนวปฏิบัติ พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของฝ่าย HR (PDPA Guideline for HR Department)

       • นายจ้างและฝ่าย HR มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง?

       • แนวปฏิบัติของนายจ้างในการ เก็บ – ใช้- เปิดเผย ข้อมูลของพนักงาน

       • แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการสรรหาและรับสมัครงาน

       • แนวปฏิบัติในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างการจ้างงานหรือสถานะเป็นพนักงาน เช่น การประมวลผลข้อมูลประวัติพนักงาน การประเมินผลงาน การฝึกอบรมพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทน การสอบข้อเท็จ          จริงและการลงโทษวินัย ฯลฯ

       • แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลภายหลังการเลิกสัญญาจ้าง

       • แนวปฏิบัติการจัดการข้อมูลอ่อนไหวของพนักงาน เช่น ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ

       • การปรับปรุงข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน / สัญญาจ้าง / ใบสมัครงาน

       • แนวปฏิบัติในการโอนหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานไปต่างประเทศ

6. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล DPIA (Data Protection Impact Assessment) และการประเมินความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง

7. สารพันปัญหาในการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ PDPA ของงาน HR พร้อมแนวทางแก้ไข อาทิ

       • การขอข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างและผู้สมัครงาน ต้องปฏิบัติอย่างไร?

       • กรณีไม่รับผู้สมัครงานเข้าทำงาน จะต้องทำอย่างไร ? กับข้อมูลที่ผู้สมัครงานได้แจ้งไว้

       • การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกจ้างให้หัวหน้างานเห็น ผิดกฎหมายหรือไม่ ? ต้องทำอย่างไร

       • การประเมินผลการทำงาน เป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ จะเปิดเผยต่อบุคคลอื่นที่สอบถาม มาได้หรือไม่?

       • HR โทรถามข้อมูลจากบุคคลอ้างอิงที่ผู้สมัครงานเขียนไว้ได้หรือไม่ หรือต้องขอความยินยอมก่อน

       Workshop / กิจกรรม

       • ร่างหนังสือให้ความยินยอม (Consent From) และหนังสือแจ้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice Form)

       • ร่างข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) เพื่อบริหารจัดการคู่สัญญาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA

       • คำร้องขอใช้สิทธิต่างๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form)


กำลังรอยืนยันสถานที่

โปรโมชั่นสำหรับองค์กร หลักสูตรนี้ สามารถจัดเป็น inhouse แบบ Zoom หรือ Onsite ได้ในราคาไม่แพง แต่สามารถเข้าฟังได้จำนวนมาก ประหยัดค่าใช้จ่าย
สามารถติดต่อขอใบเสนอราคาได้ที่ สัมมนาดีดี 0944896364 / 0974746644 หรืออีเมล์ cs@seminardd.com
สัมมนาดีดี รับจัดหลักสูตรอื่นๆ สำหรับองค์กร ด้วยวิทยากรคุณภาพ ราคาประหยัด ติดต่อเราได้เลยคะ ยินดีให้บริการ

จัดโดย SeminarDD Academy

โทร 097-474-6644 (ผู้จัดงาน)